แฟลช และเทคนิคการถ่ายภาพด้วยแสงแฟลช
แฟลช ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการถ่ายภาพอย่างหนึ่ง ทำให้สามารถถ่ายภาพได้กว้างมากขึ้น ปัจจุบันจึงมีผู้คิดค้นแฟลชต่างๆ ออกวางจำหน่ายอย่างมากมาย รวมไปถึงการจัดทำให้แฟลชอยู่ติดกับตัวกล้อง เกือบทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ทำให้ผู้ใช้งานใช้งานได้สะดวกและง่ายขึ้น ผู้ใช้กล้องจึงควรมีความรู้พื้นฐานในการเลือกใช้แฟลชให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และในสภาพแสงต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง
การทำงานของไฟแฟลช
ไฟแฟลชเป็นอุปกรณ์ให้แสงในขณะถ่ายภาพ มีอุณหภูมิสีใกล้เคียงกับแสงอาทิตย์ตอนกลางวัน ทำงานโดยการฉายแสงในช่วงเวลาที่สั้นมาก ดังนั้นเราจึงสามารถถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วได้ชัดเจนภายใต้แสงจากไฟแฟลชได้เป็นอย่างดี แฟลชที่เราคุ้นเคยกันคือแฟลชที่ติดมากับกล้อง ซึ่งเป็นแฟลชที่มีขนาดเล็ก กำลังส่องสว่างน้อยมากมักทำงานได้ดีในระยะไม่เกิน 3 เมตร จึงเหมาะกับการถ่ายภาพระยะใกล้ แต่ถ้าระยะห่างเกิน 5 เมตร มักจะได้ภาพที่มืดเกินไป ในกรณีนี้ มักจะใช้แฟลชเสริม จะมีกำลังไฟมากน้อยก็แล้วแต่รุ่น แบ่งเป็น 2 ประเภทคือแฟลชที่ใช้ติดกับหัวกล้องและไฟใหญ่ที่ใช้ในห้องถ่ายภาพ แฟลชราคาสูงมักจะมีอุปกรณ์แลกเปลี่ยนข้อมูลกับกล้องได้ด้วย ทำให้ที่ได้ออกมาได้แสงพอดีมากกว่า กล้องที่ต้องตั้งค่าเองหรือวัดแสงผ่านเลนส์ธรรมดา เนื่องจากตั้งค่าเองจะต้องประมาณจากระยะห่างและกำลังไฟของแฟลช ซึ่งมีโอกาสพลาดได้ง่าย ส่วนการวัดแสงผ่านเลนส์ก็ดีกว่า แต่ก็ยังมีข้อเสียบางประการเช่น การถ่ายภาพในระยะใกล้ หากแฟลชฉายแสงออกไปเต็มกำลัง กล้องอาจตั้งค่ารูรับแสงเล็กสุดแล้ว แต่ก็ยังได้ภาพที่สว่างไปอยู่ดี เนื่องจากกล้องมีข้อจำกัดในการใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสุด จึงไม่สามารถลดการรับแสงให้พอดีได้ ส่วนแฟลชแบบที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกล้องได้นั้น ตัวแฟลชจะรับทราบค่าแสงต่างๆจากตัวกล้อง ทำให้แฟลชสามารถเลือกใช้กำลังไฟที่เหมาะสมกับสภาพขณะนั้นได้เป็นอย่างดี แต่แฟลชที่ติดอยู่ที่หัวกล้องจะมีข้อเสียคือเป็นแสงตรง และเป็นแสงที่ไม่นุ่มนวล และก่อให้เกิดเงาข้างหลัง ถ้ามีกำแพงอยู่ข้างหลัง ในขณะที่ไฟในห้องถ่ายภาพ จะวางห่างจากตัวกล้อง เราสามารถใช้ขาตั้งกำหนดจุดและความสูงของแสงได้ รวมทั้งใช้วัสดุ กรองแสงหรือสะท้อนแสงเพื่อให้ได้แสงที่นุ่มนวลได้ตามที่ต้องการ
การใช้แฟลชช่วยในการถ่ายภาพได้ดังนี้
1.ช่วยให้สามารถถ่ายภาพในที่มืด หรือในที่ที่แสงสว่างไม่เพียงพอที่จะบันทึกภาพได้ เช่น ห้องมืด หรือในเวลากลางคืน อย่างไรก็ตามการใช้แฟลชแบบนี้ต้องทำใจกับแสงสีที่จะเกิดขึ้นในภาพ ว่าอาจจะไม่เหมือนกับที่เราเห็น ณ เวลานั้น ขณะนั้น
2. เมื่อต้องการถ่ายภาพในที่กลางแจ้งซึ่งแสงอาทิตย์ส่องมาด้านหลัง ทำให้วัตถุเกิดเงาดำ หรือเรียกอีกอย่างว่าการถ่ายย้อนแสง เราสามารถเปิดแฟลช เพื่อลบเงาด้านหน้าบริเวณที่เกิดเงาดำได้ ทำให้ได้ภาพที่สวยงาม เห็นรายละเอียดสวยงาม ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หรือการถ่ายภาพย้อนแสงในตัวอาคาร ก็สามารถใช้แฟลชเพิ่มความสว่างในส่วนที่มืดได้
3. การถ่ายภาพโดยใช้แฟลช จะช่วยตรึงวัตถุให้อยู่กับที่ได้ภาพคมชัด ไม่พร่ามัว แม้วัตถุนั้นจะเคลื่อนไหวอยู่ก็ตาม
เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแสงแฟลช Fill- InFlash
ปรกติการถ่ายภาพย้อนแสงในเวลากลางวัน ตำแหน่งของดวงอาทิตย์จะอยู่ตนตรงข้ามกับตัวผู้ถ่ายภาพพอดี และเมื่อทำการวัดแสงโดยใช้เครื่องวัดแสงที่ติดอยู่ในตัวกล้อง จะทำการวัดแสงแบบค่าเฉลี่ย และคำนวณให้กล้องถ่ายภาพเปิดช่องรับแสงที่แคบ เนื่องจากเครื่องวัดแสงวัดแสงบริเวณท้องฟ้า ซึ่งเป็นที่แสงสว่างจ้ามาก และเมื่อถ่ายภาพตามที่กล้องคำนวณ บุคคลภายในภาพจะมีเงามืด ในขณะที่บริเวณท้องฟ้าหรือ background จะมีความสว่างพอดี วิธีแก้ไขคือต้องใช้แฟลชช่วยในการถ่ายภาพ วิธีการถ่ายก็เพียงปรับความไวชัตเตอร์ให้สัมพันธ์กับแฟลช ปรับค่าความไวแสงที่ตัวแฟลช ดูระยะความห่างของกล้องกับตัวแบบ ว่าอยู่ห่างกี่เมตร หรือกี่ฟุต แล้วปรับค่าช่องรับแสงให้ตรงกับระยะห่าง หลังจากนั้นทำการถ่ายภาพ ก็จะได้ภาพตัวแบบที่ไม่มีเงามืด ภาพจะสวยงามขึ้น
เทคนิคการถ่ายภาพ ด้วยแฟลชแยก และ ผสมแสงธรรมชาติ
จะเป็นขั้นสูง และเพิ่มความเมามันส์ในการถ่ายภาพมากขึ้น อุปกรณ์เสริมที่ต้องใช้ เป็นพวกตัวส่งสัญญาณแฟลชไร้สายตอนนี้แนะนำ flash triger ของ fukon ใช้งานง่ายและสะดวกดี วิธีการถ่ายภาพให้วัดแสงฉากหลังที่ต้องการก่อน ไม่ให้เกิน sync หรือ ให้ sync ที่สูงสุดเท่าที่ทำได้(เวลากลางวัน) ส่วนตัวแฟลชให้ตั้งไว้ที่ขาตั้งกล้อง แล้วขยับเข้าออกให้แสงได้พอดี แนวของผมจะวัดแสงที่ตกกระทบแบบ - 0.5 แล้วยิงแฟลชจากทิศทางตรงข้าม แสงอาทิตย์จะกลายเป็น fill แฟลชเราจะเป็นแสงหลังทันที ภาพที่ได้จะแปลกตายิ่งขึ้น
การถ่ายภาพแบบมืออาชีพ มักจะต้องใช้แหล่งแสงมากกว่า 1 แหล่งเสมอ เพื่อไม่ให้ภาพแบน และเปิดรายละเอียดภาพให้ดูมีมิติ แต่จะหลีกเลี่ยงการใช้แสงตรง โดยทั่วไปจะเป็นแสงข้าง โดยมีแหล่งแสงที่แรงที่สุดเป็นหลัก อาจเป็นแสงอาทิตย์หรือเป็นแฟลชที่วางอยู่ใกล้นางแบบที่สุดก็ได้ และมีไฟเสริมวางห่างออกมา เพื่อให้ช่วยลบเงาที่เกิดจากไฟหลัก แต่ก็สว่างน้อยกว่าไฟหลัก เพื่อให้เกิดมิติบนใบหน้า และอาจใช้ไฟเสริมเพิ่มเติมอีกตามวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น ไฟส่องผม ให้เห็นรายละเอียดของผม หรืออาจใช้แผ่นสะท้อนแสงเป็นแสงเสริมในการลบเงาจากไฟหลักก้ได้ กรณีที่มีแฟลชหลายดวงจะต้องมีอุปกรณ์พิเศษเพื่อให้แฟลชทำงานได้พร้อมกันทุกตัว อุปกรณ์ไฟในห้องถ่ายภาพจะมีไฟนำ เพื่อส่องให้เห็นทิศทางแสงที่ตกกระทบบนตัวแบบ จะทำให้การจัดแสงทำได้ง่าย แต่ถ้าเราไม่มีไฟนำ เราอาจใช้หลอดไฟผูกติดกับแฟลชก็ได้ แต่ค่อนข้างยุ่งยาก
หลังจากเข้าใจเรื่องแสงหลัง แสงรองแล้ว ก็เพิ่มมิติของแสงด้วย แฟลชไร้สายสองดวงเข้าไป หลักของมันคือ เราจะควบคุมโทนในภาพ ไม่เกิน +2 และ -2 หมายถึงส่วนที่สว่างสุดไม่เกิน +2 และมืดสุดไม่เกิน-2 (ตรง- อาจเกินแล้วแต่แนวภาพที่ต้องการ) ให้แฟลขตัวแรกเป็นแสงหลัก แฟลชตัวที่สองเป็น fill เพื่อเปิดเงา และแสงอาทิตย์ ส่องมาจากด้านข้าง ๆ เฉียง ๆ ไปหลังนิดหน่อย วัดแสงธรรมชาติ -1 เพื่อดึงท้องฟ้าให้เข้ม หรือมากกว่านั้นตามต้องการ ก็จะได้ภาพแนวแฟชั่นออกมา
การเบ๊านซ์แฟลชเราสามารถใช้ได้กับแฟลชภายนอกเท่านั้น โดยส่วนมากนิยมใช้เบ๊านซ์กับเพดานลงมา โดยการยิงแฟลชขึ้นไปด้านบนเพดานแล้วให้สะท้อนไปที่แบบหรือวัตถุที่เราต้องการถ่าย แฟลชในระบบ TTL จะได้เปรียบแฟลชในระบบแมนนวลอยู่บ้างเนื่องจากไม่ต้องมาคอยคำนวณระยะทาง แต่ในยุคดิจิตอลก็ไม่ได้เดือดร้อนเท่าไหร่เพราะเราสามารถเห็นผลทันทีหลังการถ่ายอยู่แล้ว แต่ให้ระวังเรื่องสีของเพดานสักนิดนะครับเพราะว่าถ้าเพดานไม่เป็นสีขาวอาจทำให้วัตถุที่เราจะถ่ายนั้นมีสีผิดเพี๊ยนไปได้ และก็ถ้าเพดานสูงเกินไปก็ไม่จำเป็นต้องเบ๊านซ์นะครับมันเสียกำลังไฟแฟลชเกินไป หรือไม่บางท่านก็จะนำแผ่นสะท้อนแสงมาวางด้านข้างแบบแล้วหันหัวแฟลชไปให้สะท้อนกลับมาสู่แบบเพื่อสร้างมิติให้กับภาพ
ประโยชน์ของการเบ๊านซ์แฟลช ก็คือ ทำให้แบบมีมิติของแสง และแสงแฟลชที่นุ่มลง ไม่กระด้างและแบนเหมือนการยิงแฟลชไปตรงๆ ครับ ยังมีอุปกรณ์เสริมสำหรับสวมหน้าแฟลชเพื่อทำให้แสงแฟลชนุ่มขึ้น ซึ่งสามารถหาซื้อตามร้านขายอุปกรณ์ถ่ายภาพทั่วๆ ไปได้
เทคนิคการให้แสงแบบไฟเปิด (Open Flash)
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ใช้ไฟแฟลชลบเงา มักใช้ในการถ่ายภาพตอนกลางวัน ในลักษณะย้อนแสง หรือมีเงาบนหน้านางแบบ เราสามารถใช้แฟลชช่วยลบเงาได้ แต่ตัวแบบจะต้องไม่อยู่ห่างกล้องเกินระยะทำงานของแฟลช เพราะการถ่ายภาพกลางแจ้งมักจะต้องใช้รูรับแสงค่อนข้างเล็ก ทำให้ระยะแฟลชลดลงไปตามส่วน อย่าลืมเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ไม่เกินค่าสูงสุดที่สัมพันธ์กับแฟลชด้วย ส่วนการวัดแสงก็วัดแสงตามปกติ เพื่อให้ภาพได้แสงพอดี เราเพียงแต่ใช้แฟลชช่วยลบเงาเท่านั้น
เทคนิคการใช้แสงแฟลชที่นุ่มนวล
ไฟแฟลชบางรุ่นจะสามารถเงยหัวแฟลชได้ ทำให้เราสามารถลดความแข็งกระด้างของการใช้แฟลชติดหัวกล้องได้ เพราะไฟที่ส่องกระทบเพดานจะสะท้อนแสงลงมาอย่างนิ่มนวล และไม่เกิดเงาดำที่กำแพงด้านหลังนางแบบ สำหรับแฟลชที่ไม่สามารถเงยได้ อาจใช้กระดาษไข หรือถุงพลาสติกขุ่น กั้นไว้ที่หน้าแฟลช เพื่อกรองให้แสงแฟลชนุ่มลงก็ได้ผลดีพอสมควร แต่ก็ยังเป็นแสงตรง ทำให้หน้านางแบบจะดูแบนกว่าการสะท้อนเพดาน มีข้อระวังเรื่องสีของเพดานที่สะท้อนแสงแฟลชด้วยคือ เพดานควรจะเป็นสีขาว เพื่อป้องกันแสงสะท้อนออกมาเป็นสีตามสีเพดาน และเพดานที่ใช้วิธีนี้ได้ ควรเป็นเพดานเรียบจะดีที่สุด เพราะสะท้อนแสงได้ดีที่สุด ส่วนเพดานแบบหลังคาจั่ว จะสะท้อนแสงลงมาได้น้อยกว่า เราอาจประยุกต์เล่นสีสรรต่างๆได้โดยการใช้กระดาษแก้วสีที่ต้องการหุ้มไว้หน้าแฟลช เพื่อให้เป็นสีแบบแปลกๆก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น