วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560

ที่มาของกล้องวงจรปิด

ประวัติของกล้องวงจรปิด

               CCTV คำนี้ได้ยินกันมากขึ้นในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะการได้ยินจากข่าวทางทีวี หรือทางหนังสือพิมพ์ คำว่ากล้องวงจรปิดหรือ CCTV ​ย่อมาจากคำว่า "Closed Circuit Talavision" หรือเรียกอีกอย่างว่า "Video Surveillance System" ​คือ ระบบการบันทึกภาพจากกล้องที่เป็นระบบรักษาความปลอดภัย หรือที่ใช้เพื่อการสอดส่องดูแลเหตุการณ์ สถานะการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ​​ระบบกล้องวงจรปิดเริ่มติดตั้งครั้งแรกในปี 1942 ในประเทศเยอรมันนี ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งวัตถุประสงค์ในช่วงแรกติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อสังเกตการณ์ความเคลื่อนไหวของขีปนาวุธ V2 จากนั้นในปี 1968 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อสอดส่งดูแล ระแวดระวังเรื่องการก่อการร้าย และจากนั้นมาได้มีการพัฒนาการ กล้องวงจรปิดอย่างต่อเนื่อง กล้องวงจรปิดแบ่งตามเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ยุคดังนี้ คือ ยุคที่ 1 เป็นยุคที่ต้องมีคนนั่งเฝ้าจอคอยสังเกตุการณ์ตลอดเวลา เพราะต้องดูกันแบบเรียลไทม์ กล้องกับจอมอนิเตอร์เชื่อมต่อกันโดยตรง



เครื่อง VCR และ เทป VHS

ยุคที่ 2 ยุคนี้มีการพัฒนาแบบจากกล้องสู่อุปกรณ์บันทึก โดยเป็นการบันทึกในลักษณะ อนาล๊อก ผ่านเทปชนิด VHS และการเชื่อมต่อระหว่างกล้องวงจรปิดกับจอมอนนิเตอร์ยังเป็นแบบ 1 : 1




Multiplexers ใช้ดูกล้องวงจรปิดมากกว่า 1 ตัว

ยุคที่ 3 ยุคนี้มีการพัฒนาอุปกรณ์เชื่อมต่อเพื่อรวมสัญญาณที่มาจากกล้องมากกว่าหนึ่งตัว และมีการพัฒนาระบบการบันทึกภาพที่มีคุณภาพมากขึ้น




เครื่อง DVR 

ยุคที่ 4 ยุคนี้ได้มีการพัฒนาระบบการบันทึกไปสู่รูปแบบดิจิตอล ที่เรียกว่าระบบกล้องวงจรปิดแบบ DVR หรือ Digital Video Recorder ที่สามารถบันทึกภาพลงในรูปแบบฮาร์ดดิสได้ การพัฒนาการของกล้องวงจรปิด ได้พัฒนาต่อยอดมาอย่างสม่ำเสมอจากที่ไม่สามารถบันทึกภาพในบริเวณแสงน้อยได้ เมื่อติดตั้งระบบแสงอินฟาเรดหรือ IR เพิ่มก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้ หรือการแก้ปัญหาเรื่องของการช่วยประหยัดพื้นที่เก็บข้อมูลในฮาร์ดิสก์ โดยการใช้ระบบบันทึกภาพเฉพาะมีการเคลื่อนไหว (Motion Detection) หรือระบบการซูมกล้องวงจรปิดเพื่อให้เห็นรายละเอียดมากขึ้น เทคโนโลยีกล้องวงจรปิดยังคงมีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วของคนในยุคปัจจุบัน มีการคาดการณ์ถึงเรื่องของการพัฒนาศักยภาพระบบกล้องวงจรปิดในเชิงของการวิเคราะห์พฤติกรรมความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในจุดเสี่ยงหรือการบันทึกความเป็นเจ้าของของกระเป๋าผู้ต้องสงสัยในกรณีที่ทิ้งกระเป๋าไว้นานเกินไปในสนามบิน และเตือนภัยให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นก่อนเกิดเหตุร้ายได้ ซึ่งเทคโนโลยีกล้องวงจรปิดเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างสูงในอนาคตต่อไป

อ้างอิง :  http://www.chithangcctv.com/article/2/ประวัติกล้องวงจรปิด

เลนส์กล้องเลนส์แรก lomography

        



เวทมนตร์นี้ถูกสร้างขึ้นในปี 1835 ซึ่งก็ต้องขอบคุณ 2 สิ่ง อย่างแรกคือกล้อง Daguerreotype ซึ่งประดิษฐ์โดย Nicéphore Niépce และทำให้มันสมบูรณ์โดย Louis Daguerre ซึ่งภายหลังได้ถูกเอาชื่อมาใช้ตั้งให้กับเลนส์ - กล้อง Daguerreotype เป็นกล่องไม้ขนาดใหญ่ที่บันทึกภาพลงบนแผ่นที่เคลือบด้วยผลึกเกลือเงินในการสร้างภาพ ก่อนที่จะมีการคิดค้นฟิล์มเนกาทีฟ
อย่างที่สองก็คือ เลนส์ถ่ายภาพตัวแรกของโลก ซึ่งสร้างขึ้นโดย Charles Chevalier – ผู้คิดค้นและออกแบบเลนส์ achromat ที่เป็นแรงบันดาลใจของพวกเรา ซึ่งเมื่อนำเลนส์ตัวนี้มารวมเข้ากับกล้อง Daguerreotype มันก็ได้ทำให้กระบวนการถ่ายภาพครบถ้วนสมบูรณ์
กล้อง Daguerreotype ได้บันทึกภาพถ่ายมนุษย์เป็นครั้งแรกในโลก ที่ Boulevard du Temple ในกรุงปารีสเมื่อปี 1838
มันได้ถูกประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 19 สิงหาคม ปีค.ศ. 1839, เมื่อรัฐบาลฝรั่งเศสได้เปิดเผยกระบวนการของกล้อง Daguerreotype และมอบมันให้เป็นสมบัติสาธารณะของทุกคนในโลกใบนี้ นั่นจึงทำให้ปี ค.ศ. 1839 ถือเป็นปีแห่งการกำเนิดการถ่ายภาพอย่างเป็นทางการ




อ้างอิง : https://microsites.lomography.com/daguerreotype-achromat-art-lens/th/history/

กล้อง Mirrorless คือ?

กล้อง Mirrorless คืออะไร

กล้อง mirrorless คือ อะไร ถ้านี่คือคำถามที่คุณกำลังค้นหาคำตอบ ที่นี่มีคำตอบ เรามาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า
กล้อง Mirrorless คือ กล้องที่นำการผสมผสานข้อดีระหว่างกล้อง 2 แพลตฟอร์มเข้าด้วยกัน  นั่นก็คือ กล้องที่คุณภาพสูงอย่าง กล้อง DSLR  แต่ในขณะเดียวกันก็มีขนาดที่เล็กกะทัดรัด พกพาง่าย ซึ่งรูปร่างหน้าตามองไปก็คล้ายๆ กับ กล้อง compact เพราะว่ามันมีขนาดเล็กนั่นเอง  แต่หากดูกันให้ละเอียดแล้ว กล้อง Mirrorless นั้นมีความแตกต่างนั้นก็คือ มันสามารถเปลี่ยนเลนส์ได้เหมือน กล้อง DSLR นั่นเองแหละ  แม้ว่ามันสามารถเปลี่ยนเลนส์ได้เหมือนกล้อง DSLR  แต่มันก็มีจุดที่แตกต่าง ก็คือ กล้อง ชนิดนี้ จะไม่มีชุดกระจกสะท้อนภาพแบบ กล้อง DSLR  ซึ่งเป็นที่มาของชื่อว่า Mirrorless นั่นเอง ซึ่งในข้อแตกต่างดังกล่าวนี้นี่เอง ทำให้การออกแบบตัวกล้องสามารถทำให้เล็กลงได้มาก และในเมื่อไม่มีชุดกระจกสะท้อนภาพ ช่องมองภาพของ กล้องชนิดนี้ จึงเป็นแบบที่ใช้จอ LCD ขนาดเล็กติดตั้งไว้ในช่องมองภาพ แต่กล้องหลายๆ รุ่นก็ไม่มีช่องมองภาพมาให้จึงต้องเล็งภาพผ่านทางจอ LCD ด้านหลังแทน


ข้อดีข้อเสียของกล้อง Mirrorless

หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับกล้อง Mirrorless เป็นที่เรียบร้อยแล้วต่อไปก็มาดูว่าข้อดี ของกล้องนี้ คืออะไร ข้อเสียคืออะไร มีอะไรบ้าง

ข้อดี– มีขนาดที่เล็ก เบา และพกพาสะดวก
– ให้ภาพที่มีคุณภาพสูงใกล้เคียง กล้อง DSLR
– มีการออกแบรูปทรง และหน้าที่ทันสมัย มีหลากหลายสีให้เลือก


ข้อเสีย
– เนื่องจากในบางรุ่นไม่มีช่องมองภาพมาให้ ทำให้ท่านๆ ต้องมองภาพผ่านจอ LCD ตลอดเวลา แน่นอนการที่เราใช้จอ LCD ตลอดเวลานั้นทำให้สิ้นเปลืองแบตเตอรี
– การตอบสนองช้ากว่ากล้อง DSLR
– คุณภาพของไฟล์ภาพแม้ว่าจะเทียบเท่ากล้อง DLSR แต่ก็ยังมีข้อด้วยกว่าคือ ยังมีจุดรบกวนมากกว่า
– อุปกรณ์ต่างๆ หลายๆ อย่างยังมีอยู่จำกัด โดยเฉพาะ เลนส์ คือไม่สามารถที่จะใช้ร่วมกับกล้อง DSLR ได้โดยตรง จะต้องมีตัวอะแดปเตอร์แปลงเลนส์มาเชื่อมต่อจึงจะสามารถนำมาใช้ร่วมกันได้






แฟลชและเทคนิคการถ่ายภาพด้วยแสงแฟลช


แฟลช และเทคนิคการถ่ายภาพด้วยแสงแฟลช


            แฟลช ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการถ่ายภาพอย่างหนึ่ง ทำให้สามารถถ่ายภาพได้กว้างมากขึ้น ปัจจุบันจึงมีผู้คิดค้นแฟลชต่างๆ ออกวางจำหน่ายอย่างมากมาย รวมไปถึงการจัดทำให้แฟลชอยู่ติดกับตัวกล้อง เกือบทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ทำให้ผู้ใช้งานใช้งานได้สะดวกและง่ายขึ้น ผู้ใช้กล้องจึงควรมีความรู้พื้นฐานในการเลือกใช้แฟลชให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และในสภาพแสงต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง
การทำงานของไฟแฟลช
             ไฟแฟลชเป็นอุปกรณ์ให้แสงในขณะถ่ายภาพ มีอุณหภูมิสีใกล้เคียงกับแสงอาทิตย์ตอนกลางวัน ทำงานโดยการฉายแสงในช่วงเวลาที่สั้นมาก ดังนั้นเราจึงสามารถถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วได้ชัดเจนภายใต้แสงจากไฟแฟลชได้เป็นอย่างดี แฟลชที่เราคุ้นเคยกันคือแฟลชที่ติดมากับกล้อง ซึ่งเป็นแฟลชที่มีขนาดเล็ก กำลังส่องสว่างน้อยมากมักทำงานได้ดีในระยะไม่เกิน 3 เมตร จึงเหมาะกับการถ่ายภาพระยะใกล้ แต่ถ้าระยะห่างเกิน 5 เมตร มักจะได้ภาพที่มืดเกินไป ในกรณีนี้ มักจะใช้แฟลชเสริม จะมีกำลังไฟมากน้อยก็แล้วแต่รุ่น แบ่งเป็น 2 ประเภทคือแฟลชที่ใช้ติดกับหัวกล้องและไฟใหญ่ที่ใช้ในห้องถ่ายภาพ แฟลชราคาสูงมักจะมีอุปกรณ์แลกเปลี่ยนข้อมูลกับกล้องได้ด้วย ทำให้ที่ได้ออกมาได้แสงพอดีมากกว่า กล้องที่ต้องตั้งค่าเองหรือวัดแสงผ่านเลนส์ธรรมดา เนื่องจากตั้งค่าเองจะต้องประมาณจากระยะห่างและกำลังไฟของแฟลช ซึ่งมีโอกาสพลาดได้ง่าย ส่วนการวัดแสงผ่านเลนส์ก็ดีกว่า แต่ก็ยังมีข้อเสียบางประการเช่น การถ่ายภาพในระยะใกล้ หากแฟลชฉายแสงออกไปเต็มกำลัง กล้องอาจตั้งค่ารูรับแสงเล็กสุดแล้ว แต่ก็ยังได้ภาพที่สว่างไปอยู่ดี เนื่องจากกล้องมีข้อจำกัดในการใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสุด จึงไม่สามารถลดการรับแสงให้พอดีได้ ส่วนแฟลชแบบที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกล้องได้นั้น ตัวแฟลชจะรับทราบค่าแสงต่างๆจากตัวกล้อง ทำให้แฟลชสามารถเลือกใช้กำลังไฟที่เหมาะสมกับสภาพขณะนั้นได้เป็นอย่างดี แต่แฟลชที่ติดอยู่ที่หัวกล้องจะมีข้อเสียคือเป็นแสงตรง และเป็นแสงที่ไม่นุ่มนวล และก่อให้เกิดเงาข้างหลัง ถ้ามีกำแพงอยู่ข้างหลัง ในขณะที่ไฟในห้องถ่ายภาพ จะวางห่างจากตัวกล้อง เราสามารถใช้ขาตั้งกำหนดจุดและความสูงของแสงได้ รวมทั้งใช้วัสดุ กรองแสงหรือสะท้อนแสงเพื่อให้ได้แสงที่นุ่มนวลได้ตามที่ต้องการ
การใช้แฟลชช่วยในการถ่ายภาพได้ดังนี้
1.ช่วยให้สามารถถ่ายภาพในที่มืด หรือในที่ที่แสงสว่างไม่เพียงพอที่จะบันทึกภาพได้ เช่น ห้องมืด หรือในเวลากลางคืน อย่างไรก็ตามการใช้แฟลชแบบนี้ต้องทำใจกับแสงสีที่จะเกิดขึ้นในภาพ ว่าอาจจะไม่เหมือนกับที่เราเห็น ณ เวลานั้น ขณะนั้น
2. เมื่อต้องการถ่ายภาพในที่กลางแจ้งซึ่งแสงอาทิตย์ส่องมาด้านหลัง ทำให้วัตถุเกิดเงาดำ หรือเรียกอีกอย่างว่าการถ่ายย้อนแสง เราสามารถเปิดแฟลช เพื่อลบเงาด้านหน้าบริเวณที่เกิดเงาดำได้ ทำให้ได้ภาพที่สวยงาม เห็นรายละเอียดสวยงาม ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หรือการถ่ายภาพย้อนแสงในตัวอาคาร ก็สามารถใช้แฟลชเพิ่มความสว่างในส่วนที่มืดได้
3. การถ่ายภาพโดยใช้แฟลช จะช่วยตรึงวัตถุให้อยู่กับที่ได้ภาพคมชัด ไม่พร่ามัว แม้วัตถุนั้นจะเคลื่อนไหวอยู่ก็ตาม



เทคนิคการถ่ายภาพด้วยแสงแฟลช  Fill- InFlash
            ปรกติการถ่ายภาพย้อนแสงในเวลากลางวัน ตำแหน่งของดวงอาทิตย์จะอยู่ตนตรงข้ามกับตัวผู้ถ่ายภาพพอดี และเมื่อทำการวัดแสงโดยใช้เครื่องวัดแสงที่ติดอยู่ในตัวกล้อง จะทำการวัดแสงแบบค่าเฉลี่ย และคำนวณให้กล้องถ่ายภาพเปิดช่องรับแสงที่แคบ เนื่องจากเครื่องวัดแสงวัดแสงบริเวณท้องฟ้า ซึ่งเป็นที่แสงสว่างจ้ามาก และเมื่อถ่ายภาพตามที่กล้องคำนวณ บุคคลภายในภาพจะมีเงามืด ในขณะที่บริเวณท้องฟ้าหรือ background จะมีความสว่างพอดี วิธีแก้ไขคือต้องใช้แฟลชช่วยในการถ่ายภาพ วิธีการถ่ายก็เพียงปรับความไวชัตเตอร์ให้สัมพันธ์กับแฟลช ปรับค่าความไวแสงที่ตัวแฟลช ดูระยะความห่างของกล้องกับตัวแบบ ว่าอยู่ห่างกี่เมตร หรือกี่ฟุต แล้วปรับค่าช่องรับแสงให้ตรงกับระยะห่าง หลังจากนั้นทำการถ่ายภาพ ก็จะได้ภาพตัวแบบที่ไม่มีเงามืด ภาพจะสวยงามขึ้น

            การถ่ายภาพโดยใช้แฟลชยิงไปตรงๆ กับวัตถุหรือหน้าคนนั้น ภาพที่ได้อาจจะสว่างมากเกินไป หรือแสงแข็งให้ความรู้สึกไม่เป็นธรรมชาติ ปัญหานี้อาจลดลงได้ด้วยการแผ่กระจายแสงแฟลชให้กว้างขึ้น หรือตั้งเป็นแฟลชกระจายแสง หรือจะหาแผ่นกระดาษหรือผ้าเช็ดหน้าสีขาวมาปิดกั้นแสง หรือจะใช้เทคนิค Bounce Flash ด้วยการปล่อยแสงแฟลชให้ตกกระทบกับวัตถุ แล้วจึงสะท้อนกลับมาที่ตัวแบบ แทนที่จะปล่อยแสงแฟลชให้กระทบกับตัวแบบโดยตรง โดยการสะท้อน อาจใช้ร่มสะท้อนแสง ฝาผนัง หรือเพดานเตี้ยๆ แต่มีข้อควรระวังคือควรจะเลือกวัตถุตกกระทบให้มีสีขาวหรือสีกลางๆ มิฉะนั้นแล้ว สีของวัตถุสะท้อนแสงนั้นจะทำให้ตัวแบบสีผิดเพี้ยนไป นอกจากนี้แฟลชบางตัวออกแบบมาให้สามารถปรับหลอดให้แหงนหรือปรับซ้ายขวาได้ จะช่วยในการถ่ายภาพภายใต้แสงที่นุ่มนวลขึ้น แต่จะต้องเปิดหน้ากล้องให้กว้างขึ้นกว่าที่ถ่ายโดยใช้แสงแฟลชโดยตรงประมาณ 1-2 สต๊อป ตามแต่ลักษณะของวัตถุสะท้อนแสง


เทคนิคการถ่ายภาพ ด้วยแฟลชแยก และ ผสมแสงธรรมชาติ
           จะเป็นขั้นสูง และเพิ่มความเมามันส์ในการถ่ายภาพมากขึ้น อุปกรณ์เสริมที่ต้องใช้ เป็นพวกตัวส่งสัญญาณแฟลชไร้สายตอนนี้แนะนำ flash triger ของ fukon ใช้งานง่ายและสะดวกดี วิธีการถ่ายภาพให้วัดแสงฉากหลังที่ต้องการก่อน ไม่ให้เกิน sync หรือ ให้ sync ที่สูงสุดเท่าที่ทำได้(เวลากลางวัน) ส่วนตัวแฟลชให้ตั้งไว้ที่ขาตั้งกล้อง แล้วขยับเข้าออกให้แสงได้พอดี แนวของผมจะวัดแสงที่ตกกระทบแบบ - 0.5 แล้วยิงแฟลชจากทิศทางตรงข้าม แสงอาทิตย์จะกลายเป็น fill แฟลชเราจะเป็นแสงหลังทันที ภาพที่ได้จะแปลกตายิ่งขึ้น



การใช้แฟลชพร้อมกันหลายดวง
              การถ่ายภาพแบบมืออาชีพ มักจะต้องใช้แหล่งแสงมากกว่า 1 แหล่งเสมอ เพื่อไม่ให้ภาพแบน และเปิดรายละเอียดภาพให้ดูมีมิติ แต่จะหลีกเลี่ยงการใช้แสงตรง โดยทั่วไปจะเป็นแสงข้าง โดยมีแหล่งแสงที่แรงที่สุดเป็นหลัก อาจเป็นแสงอาทิตย์หรือเป็นแฟลชที่วางอยู่ใกล้นางแบบที่สุดก็ได้ และมีไฟเสริมวางห่างออกมา เพื่อให้ช่วยลบเงาที่เกิดจากไฟหลัก แต่ก็สว่างน้อยกว่าไฟหลัก เพื่อให้เกิดมิติบนใบหน้า และอาจใช้ไฟเสริมเพิ่มเติมอีกตามวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น ไฟส่องผม ให้เห็นรายละเอียดของผม หรืออาจใช้แผ่นสะท้อนแสงเป็นแสงเสริมในการลบเงาจากไฟหลักก้ได้ กรณีที่มีแฟลชหลายดวงจะต้องมีอุปกรณ์พิเศษเพื่อให้แฟลชทำงานได้พร้อมกันทุกตัว อุปกรณ์ไฟในห้องถ่ายภาพจะมีไฟนำ เพื่อส่องให้เห็นทิศทางแสงที่ตกกระทบบนตัวแบบ จะทำให้การจัดแสงทำได้ง่าย แต่ถ้าเราไม่มีไฟนำ เราอาจใช้หลอดไฟผูกติดกับแฟลชก็ได้ แต่ค่อนข้างยุ่งยาก
              หลังจากเข้าใจเรื่องแสงหลัง แสงรองแล้ว ก็เพิ่มมิติของแสงด้วย แฟลชไร้สายสองดวงเข้าไป หลักของมันคือ เราจะควบคุมโทนในภาพ ไม่เกิน +2 และ -2 หมายถึงส่วนที่สว่างสุดไม่เกิน +2 และมืดสุดไม่เกิน-2 (ตรง- อาจเกินแล้วแต่แนวภาพที่ต้องการ) ให้แฟลขตัวแรกเป็นแสงหลัก แฟลชตัวที่สองเป็น fill เพื่อเปิดเงา และแสงอาทิตย์ ส่องมาจากด้านข้าง ๆ เฉียง ๆ ไปหลังนิดหน่อย วัดแสงธรรมชาติ -1 เพื่อดึงท้องฟ้าให้เข้ม หรือมากกว่านั้นตามต้องการ ก็จะได้ภาพแนวแฟชั่นออกมา



การเบ๊านซ์แฟลช  Bounce Flash
              การเบ๊านซ์แฟลชเราสามารถใช้ได้กับแฟลชภายนอกเท่านั้น โดยส่วนมากนิยมใช้เบ๊านซ์กับเพดานลงมา โดยการยิงแฟลชขึ้นไปด้านบนเพดานแล้วให้สะท้อนไปที่แบบหรือวัตถุที่เราต้องการถ่าย แฟลชในระบบ TTL จะได้เปรียบแฟลชในระบบแมนนวลอยู่บ้างเนื่องจากไม่ต้องมาคอยคำนวณระยะทาง แต่ในยุคดิจิตอลก็ไม่ได้เดือดร้อนเท่าไหร่เพราะเราสามารถเห็นผลทันทีหลังการถ่ายอยู่แล้ว แต่ให้ระวังเรื่องสีของเพดานสักนิดนะครับเพราะว่าถ้าเพดานไม่เป็นสีขาวอาจทำให้วัตถุที่เราจะถ่ายนั้นมีสีผิดเพี๊ยนไปได้ และก็ถ้าเพดานสูงเกินไปก็ไม่จำเป็นต้องเบ๊านซ์นะครับมันเสียกำลังไฟแฟลชเกินไป หรือไม่บางท่านก็จะนำแผ่นสะท้อนแสงมาวางด้านข้างแบบแล้วหันหัวแฟลชไปให้สะท้อนกลับมาสู่แบบเพื่อสร้างมิติให้กับภาพ
ประโยชน์ของการเบ๊านซ์แฟลช ก็คือ ทำให้แบบมีมิติของแสง และแสงแฟลชที่นุ่มลง ไม่กระด้างและแบนเหมือนการยิงแฟลชไปตรงๆ ครับ ยังมีอุปกรณ์เสริมสำหรับสวมหน้าแฟลชเพื่อทำให้แสงแฟลชนุ่มขึ้น ซึ่งสามารถหาซื้อตามร้านขายอุปกรณ์ถ่ายภาพทั่วๆ ไปได้




เทคนิคการให้แสงแบบไฟเปิด (Open Flash)
             หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ใช้ไฟแฟลชลบเงา มักใช้ในการถ่ายภาพตอนกลางวัน ในลักษณะย้อนแสง หรือมีเงาบนหน้านางแบบ เราสามารถใช้แฟลชช่วยลบเงาได้ แต่ตัวแบบจะต้องไม่อยู่ห่างกล้องเกินระยะทำงานของแฟลช เพราะการถ่ายภาพกลางแจ้งมักจะต้องใช้รูรับแสงค่อนข้างเล็ก ทำให้ระยะแฟลชลดลงไปตามส่วน อย่าลืมเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์ไม่เกินค่าสูงสุดที่สัมพันธ์กับแฟลชด้วย ส่วนการวัดแสงก็วัดแสงตามปกติ เพื่อให้ภาพได้แสงพอดี เราเพียงแต่ใช้แฟลชช่วยลบเงาเท่านั้น

เทคนิคการใช้แสงแฟลชที่นุ่มนวล
             ไฟแฟลชบางรุ่นจะสามารถเงยหัวแฟลชได้ ทำให้เราสามารถลดความแข็งกระด้างของการใช้แฟลชติดหัวกล้องได้ เพราะไฟที่ส่องกระทบเพดานจะสะท้อนแสงลงมาอย่างนิ่มนวล และไม่เกิดเงาดำที่กำแพงด้านหลังนางแบบ สำหรับแฟลชที่ไม่สามารถเงยได้ อาจใช้กระดาษไข หรือถุงพลาสติกขุ่น กั้นไว้ที่หน้าแฟลช เพื่อกรองให้แสงแฟลชนุ่มลงก็ได้ผลดีพอสมควร แต่ก็ยังเป็นแสงตรง ทำให้หน้านางแบบจะดูแบนกว่าการสะท้อนเพดาน มีข้อระวังเรื่องสีของเพดานที่สะท้อนแสงแฟลชด้วยคือ เพดานควรจะเป็นสีขาว เพื่อป้องกันแสงสะท้อนออกมาเป็นสีตามสีเพดาน และเพดานที่ใช้วิธีนี้ได้ ควรเป็นเพดานเรียบจะดีที่สุด เพราะสะท้อนแสงได้ดีที่สุด ส่วนเพดานแบบหลังคาจั่ว จะสะท้อนแสงลงมาได้น้อยกว่า เราอาจประยุกต์เล่นสีสรรต่างๆได้โดยการใช้กระดาษแก้วสีที่ต้องการหุ้มไว้หน้าแฟลช เพื่อให้เป็นสีแบบแปลกๆก็ได้

ย้อนดูต้นกำเนิดกล้อง Polaroid ในวันเกิดครบรอบ 68 ปี

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 1948

 Edwin Land เปิดตัวกล้อง “Land Camera” รุ่น 95A ซึ่งนับได้ว่าเป็นกล้อง Polaroid รุ่นแรกที่คนทั่วโลกรู้จัก โดยห้าง Jordan Marsh ในบอสตันได้วางจำหน่ายในราคา $89.75 หรือเทียบกับค่าเงินสมัยนี้คือมากกว่า $900

Land ได้แรงบันดาลใจในการสร้างวิธีถ่ายภาพแบบมีภาพออกมาเลยจากลูกสาวของเขา ที่เคยถามว่าทำไมเธอถึงไม่สามารถเห็นภาพที่ถ่ายได้ทันที? ซึ่งในยุคนั้น การจะได้ดูภาพที่ถ่าย จำเป็นจะต้องผ่านหลายขั้นตอนของการล้างฟิล์ม จนมาถึงการอัดภาพ นั่นทำให้ Land ใช้เวลาหลายปีในการพัฒนาวิธีการถ่ายภาพแบบนี้ขึ้นจนได้รับความนิยมอย่างมาก
การถือกำเนิดกล้อง Polaroid นับเป็นก้าวสำคัญหนึ่งของวงการถ่ายภาพโลก ทำให้เกิดงานภาพถ่ายที่แปลกตา และถูกนำมาใช้เป็นเทคนิคพิเศษประกอบกับกล้องฟิล์มอื่นๆเพื่อดูภาพได้ก่อนในยุคที่ยังไม่มีกล้องดิจิตอล แม้แต่ในยุคนี้ การถือกำเนิดของแอพอย่าง Instagram เองก็ได้แรงบันดาลใจจากภาพ Polaroid ด้วยเช่นกัน
วิดีโอนี้ถ่ายทำโดย Charles และ Ray Eames เป็นโฆษณาขนาด 10 นาทีที่พูดถึงกล้อง Polaroid รุ่น SX-70 ที่เปิดตัวในปี 1972 และได้รับความนิยมอย่างสูง


Nick Woodman ผู้ให้กำเนิดกล้อง GoPro





 Nicholas Woodland

 ที่มาของกล้อง GoPro นั้น เริ่มต้นจากความเรียบง่ายมาก ๆ เมื่อ Nick ต้องการถ่ายวีดีโอบันทึกเหตุการณ์ในขณะที่เขากำลังเล่นเซิร์ฟบอร์ดหรือกระดานโต้คลื่น แล้วเขาพยายามใช้กล้องคอมแพ็คธรรมดา ๆ ใส่กล่องกันน้ำแล้วเอาสายรัดข้อมือมามัดติดกับกล้อง


กล้องคอมแพคใส่กล่องกันน้ำติดข้อมือ


แต่ก็พบว่า ภาพที่เขาบันทึกได้ออกมานั้น ไม่ได้ดั่งใจตามที่เขาต้องการเลย เขาก็เลยพยายามสร้างกล้องที่ตอบสนอง Need ของเขาขึ้นมาเอง โดยก่อตั้งบริษัทที่มีชื่อว่า Woodman Labs เพื่อสร้างเจ้า GoPro ขึ้นมา
แต่ก่อนที่ Nick จะกระโดดมาทำ GoPro นั้น ก่อนหน้านั้นเขาก็เคยทำธุรกิจมาก่อนแล้ว โดย Nick เริ่มทำธุรกิจตั้งแต่อายุ 24  เป็นบริษัทเกี่ยวกับ Tech Startup
ผลปรากฏว่า ‘เจ๊งไม่เป็นท่า’ แถมเงินลงทุนที่เขาเอามาจากคนอื่น ๆ กว่า 4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 120 ล้านบาท ก็จมลงไปกับธุรกิจก่อนหน้านั้นของเขาในระยะเวลา 2 ปีที่เขาเริ่มต้นธุรกิจตัวนี้

และหลังจากที่ Nick ผิดหวัง ล้มเหลวไม่เป็นท่ากับธุรกิจที่เขาพึ่งทำพังกับมือ เขาก็เลยวางแผนไปเล่นกระดานโต้คลื่นซึ่งในตอนแรกเขาแค่ต้องการจะเก็บภาพสวย ๆ ตอนที่เขากำลังโต้คลื่น ตอนนั้นในหัวของ Nick ยังไม่ได้คิดถึงเรื่องธุรกิจเลยด้วยซ้ำ จนกระทั่งเขาคิดได้ว่า มันต้องมีคนเล่นกระดานโต้คลื่นที่พบปัญหาเดียวกับเขาทั่วโลกเยอะแน่ ๆ
และในตอนนั้นเอง เขาพยายามที่จะช่วยแก้ไขปัญหาให้กับนักกระดานโต้คลื่นให้ถ่ายรูปการโต้คลื่นแบบมือโปร เขาเลยตั้งชื่อให้มันว่า “GoPro” นั่นเอง
ความตั้งใจแรกของ GoPro ไม่ได้ตั้งใจที่จะมาแทนที่กล้องแบบคอมแพคหรือกล้องจากมือถือสมาร์ทโฟน แต่เป็นกล้องที่มาเติมเต็มในส่วนที่กล้องต่าง ๆ เหล่านั้นอาจจะไม่เหมาะกับการถ่ายรูปบางอย่าง เช่น ถ้าเป็นกล้องมือถือสมาร์ทโฟน ในบางเวลาที่เร่งด่วนก็อาจจะเปิด App ถ่ายรูป แล้วถ่ายไม่ทันล็อตนั้น GoPro ก็เลยเน้นให้เปิดกล้องได้ไว แล้วกดปุ่มเดียวก็สามารถบันทึกช็อตนั้นได้ในทันที
หรือกล้องคอมแพ็ค อาจจะมีมุมมองที่ไม่กว้างมากนักในขณะที่เซลฟี่
GoPro ก็เลยออกแบบตัวกล้องและอุปกรณ์เสริมเพื่อให้บันทึกในมุมมองที่กว้างขึ้นเพื่อเก็บภาพได้ทุกช็อตรอบ ๆ ตัวได้ง่ายยิ่งขึ้น
แต่ไม่ว่าจะอะไรก็แล้วแต่กล้อ GoPro ถูกสร้างขึ้นเพื่ออยากให้ผู้ใช้งานได้บันทึกประสบการณ์ในชีวิตเอาไว้ในเวลาที่พบเจอประสบการณ์ใหม่ ๆ หรือช่วงเวลาที่น่าจดจำในชีวิต




จากกล้องที่ Nick กะจะขายให้กับนักกระดานโต้คลื่นเพียงกลุ่มเดียวก็อาจจะทำให้ตลาดของ GoPro ไม่โตมากนัก จนกระทั่ง Nick ได้ชวนเพื่อน ๆ ของเขาขึ้น Private Jet ส่วนตัวไปเที่ยว Maxico เพื่อทดสอบกล้อง GoPro ของเขาในกิจกรรมต่าง ๆ และรูปแบบการใช้งานต่าง ๆ ที่กล้องทั่ว ๆ ไปไม่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกระดานโต้คลื่น การเล่นโปโลขี่ม้า ปีนเขา หรือแม้กระทั่งดำน้ำไปใกล้ชิดกับจระเข้ ทำให้คลิปนั้นส่งผลให้ GoPro ขยายตลาดไปทุก ๆ กลุ่มคนที่ต้องการบันทึก Lifestyle Cool Cool ของแต่ละคน




และสิ่งที่ทำให้ Nick คาดไม่ถึงเกี่ยวกับกล้อง GoPro ที่เขาสร้างขึ้นมานั้น เขากลับเรียนรู้อะไรหลาย ๆ อย่างจากลูกค้าของเขา เพื่อที่จะนำมาปรับปรุงและพัฒนาตัวกล้องให้มันตอบสนองต่อผู้ใช้งานให้ดียิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็น
ตอนที่มีเด็กคนหนึ่งได้ติดกล้องไว้กับจรวดประดิษฐ์แล้วเจ้าจรวดก็ดันวิ่งทะลุชั้นบรรยากาศของโลกไปลอยอยู่บนอวกาศ ทำให้ Nick ทึ่งเลยว่า กล้องตรูถ่ายบนอวกาศได้ด้วย Oh My God!




  GoPro Hero 3

และจากนั้นก็มีการใช้กล้อง GoPro ในกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป และหลาย ๆ วีดีโอ ก็เป็นมือสมัครเล่นที่ทำขึ้นเอง โดยที่ Nick ไม่ได้ทำการตลาดด้วยซ้ำ
กลายเป็นว่าลูกค้าของเขา กลับสร้างวีดีโอโฆษณาให้กับบริษัทเขาเอง แถมหลาย ๆ วีดีโอก็แพร่กระจายแบบ Viral Marketing ซึ่งเป็นการตลาดที่นักการตลาดทั่วโลกใฝ่ฝันอยากจะทำมันเลยทีเดียว
และในขณะเดียวกัน Timing ที่สำคัญในช่วงที่โลกออนไลน์กำลังให้ความสนใจเกี่ยวกับ Video Content ในตอนนั้นเอง Google ก็ได้เข้าซื้อ Youtube พร้อม ๆ กับการเปิดตัวกล้อง GoPro Hero 3 จึงทำให้ผู้คนหลั่งไหลอัพโหลดและแชร์ฟล์วีดีโอจนกลายเป็น Viral ขึ้นมา




ในปี 2014 ที่ผ่านมา GoPro ได้นำเข้าตลาด IPO เพื่อระดมทุน และขายสู่สาธารณะชนเป็นมูลค่ากว่า 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
จากเงินทุน 8 ล้านบาทในวันนั้น จนถึงวันนี้ Nicholas Woodman ในวัย 40 ปี ผู้ก่อตั้ง GoPro ก็มีรายได้สุทธิประมาณ 2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ เฉียด ๆ 1 แสนล้านบาท




วิวัฒนาการของการถ่ายภาพ

ก่อนที่จะมีเทคโนโลยีการถ่ายภาพ มนุษย์ได้ใช้วิธีการวาดภาพให้เหมือนจริงเพื่อบันทึกความทรงจำ และใช้ในการสื่อความหมาย ซึ่งการวาดภาพให้เหมือนจริงต้องใช้เวลานานและได้ภาพที่ไม่เหมือนจริงตามธรรมชาติ
     จนในที่สุดในศตวรรษที่ 19 มนุษย์ก็ประสบความสำเร็จ ในการคิดค้นกระบวนการสร้างภาพ จากผลของการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ ที่ได้พัฒนาความรู้จากศาสตร์ 2 ศาสตร์ คือ สาขาฟิสิกส์ ได้แก่ เรื่องของแสงและกล้องถ่ายภาพ และสาขาเคมี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฟิล์ม สารไวแสง และน้ำยาสร้างภาพ
กำเนิดกล้องถ่ายภาพชนิดแรก

        - แนวคิดในการถ่ายภาพนั้นเริ่มมาเป็นเวลานานแล้ว โดยมาจากสมัยพวกชนเผ่าแร่ร่อนในอียิปต์ ซึ่งท่องเที่ยวกลางเต้นท์อยู่ในทะเลทราย เมื่อถึงเวลาบ่ายแดดร้อนจัดก็หยุดเดินทางเข้าไปพักผ่อนในเต้นท์ซึ่งมืด และได้สังเกต เห็นแสงของดวงอาทิตย์ลอดผ่านรูเต้นท์มากระทบวัตถุแล้วทำให้เกิดเงาเป็นรูปร่างขึ้นที่ผนังอีกด้านหนึ่ง โดยได้เงาหัวกลับ ซึ่งถือได้ว่าเป็นหลักหรือกฎเบื้องต้นของการถ่ายรูป 

       - เมื่อประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตศักราช อริสโตเติล นักปราชญ์และนักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกได้บันทึกไว้ว่า หากเราปล่อยให้ผ่านเข้าไปทางช่องเล็กๆ ในห้องมืด แล้วถือกระดาษขาวให้ห่างจากช่องรับแสงประมาณ 15 ซ.ม. จะปรากฏภาพบนกระดาษ ลักษณะเป็น “ภาพจริงหัวกลับ” แต่ไม่ชัดเจนนัก   สิ่งที่เขาค้นพบนั้น ถือว่าเป็นกฎของกล้องออบสคิวร่า (camera obscura เป็นภาษาลาติแปลว่า "ห้องมืด") และคงรักษาไว้หลายร้อยปีต่อมา



กล้อง camera obscura และหลักการใช้

          - ค.ศ. 1490 ลีโอนาโด ดาวินชี นักวิทยาศาสตร์และศิลปินชาวอิตาลี่ได้บันทึกคำอธิบายเกี่ยวกับหลักการทำงานของกล้องออบสคิวร่า ทำให้ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าใจหลักการทำงานของกล้องมากขึ้น โดยเฉพาะพวกจิตรกรสนใจนำกล้องไปช่วยในการวาดภาพลอกแบบ เพื่อให้ได้ภาพในเวลารวดเร็วและมีสัดส่วนเหมือนจริง



วิวัฒนาการของกล้อง obscura
 สารไวแสงกับการคงสภาพของภาพถ่าย
      แม้จะมีการค้นพบหลักการ camara obcura ที่ทำให้ภาพเหมือนจริงมาปรากฏบนฉากได้ตามต้องการมานานกว่า 2 พันปี แต่คนในสมัยโบราณไม่สามารถคงสภาพของภาพนั้นให้คงอยู่ได้อย่างถาวร จนกระทั่ง ใน พ.ศ. 2370 โจเซฟ เนียฟ (Joseph Nicéphore Niépce) ได้ประสบความสำเร็จในการคงสภาพ เขาใช้แผ่นดีบุกผสมตะกั่วฉาบด้วยสารบิทูเมนถ่ายภาพตึกซึ่งอยู่ตรงข้ามกับห้องทำงานในบ้านของเขาที่ด้วยกล้องออบสคูรา โดยใช้เวลานาน 8 ชั่วโมง ภาพที่ได้เป็นโพสิตีฟคือส่วนที่ถูกแสงจะเป็นสีจางลงและแข็งตัว ส่วนที่ไม่ถูกล้างออกจึงเป็นสีดำ ซึ่งเป็นสีของแผ่นดีบุกผสมตะกั่วนั่นเองภาพถ่ายนี้ นับเป็นภาพถ่าย ภาพแรกของโลกที่หลงเหลืออยู่ 






  โจเซฟ เนียฟ และภาพถ่ายภาพแรก 
       - ใน พ.ศ. 2369 ดาแกร์ได้เขียนจดหมายติดต่อกับเนียฟ ถึงเรื่องการค้นคว้าเกี่ยกวับกระบวนการถ่ายภาพของเขา และใน พ.ศ.2370 ขณะที่เนียฟมีโอกาสเดินทางไปกรุงปารีส จึงได้ไปพบดาแกร์และพูดคุยเกี่ยวกับการทดลองค้นคว้า เขาทั้งสองได้ติดต่อกันเรื่อยมา จนกระทั่งใน พ.ศ.2372 เขาจึงได้ทำสัญญาร่างหุ้นกัน เพื่อทำให้กระบวนการเฮลิโอกราฟที่เนียฟคิดค้นสมบูรณ์แบบ โดยมีกำหนด 10 ปี แต่ดำเนินการได้เพียง 4 ปี เนียฟก็ถึงแก่กรรมใน พ.ศ.2376 ดาแกร์จึงได้ดำเนินหุ้นกับลูกชายของเนียฟต่อไป
         - ใน พ.ศ.2378 เขาได้สังเกตเห็นเพลทซึ่งเขาถ่ายไว้หลายวันในตู้ มีภาพปรากฏเขาค้นพบต่อมาว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น เป็นผลมากจากไอปรอทของเทอร์โมมิเตอร์ที่แตกหลอดหนึ่ง แต่ภาพที่ปรากฏนั้น ยังไม่ถาวรเขาจึงได้ทำการค้นคว้าต่อ โดยนำกระบวนการเฮลิโอกราฟของเนียฟไปร่วมกับกระบวนการ ไดโอรามาของเขาต่อมาใน พ.ศ.2380 เขาก็ได้ประสบความสำเร็จ ในการทำภาพให้ติดถาวรได้ด้วยการใช้สารละลายเกลือธรรมดา (Common salt) และเรียกระบวนการนี้ว่า ดาแกร์โรไทฟ์ (Daguerreotype)  

กล้องดาแกร์โรไทฟ์

                  - ในเวลาต่อมา วิลเลียม เฮนรี ฟอกซ์ แทลบอต ( William Henry Fox Talbot ) ชาวอังกฤษ ได้ค้นพบว่า “เงินคลอไรด์”( Silver Chloride ) เป็นสารที่มีความไวต่อแสงสว่าง ซึ่งสามารถฉาบลงบนกระดาษได้ ทำให้ได้กระดาษไวแสงที่จะนำไปอัดภาพ เขาได้ทดลองนำใบไม้ ขนนก มาวางทับกระดาษไวแสง พบว่า ส่วนที่วัตถุทับอยู่จะเป็น สีขาวแต่ส่วนที่ถูกแสงสว่างจะเป็นสีดำ เมื่อนำไปล้างในสารละลายเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ ได้ภาพที่เรียกว่า “ภาพPhotogenic Drawing” ที่มีลักษณะเป็นสีตรงข้ามกับต้นแบบคือ ขาวเป็นดำ และดำเป็นขาว หรือที่เรียกว่า "ภาพเนกาตีฟ" ในปัจจุบัน ซึ่งแทลบอตใช้เป็นต้นแบบในการอัดภาพ ภาพต่อๆ มาจะเป็นภาพโพสิตีฟ ฉะนั้นวิธีการของแทลบอตจึงดีกว่ากระบวนการของดาร์แกโรไทพ์ ตรงที่สามารถอัดภาพได้หลายภาพตามต้องการ แต่ก็มีข้อด้อยตรงที่เมื่อเก็บไว้นาน ๆ สีของภาพจะซีดจางลง
  

วิลเลียม เฮนรี ฟอกซ์ แทลบอต

            - ระยะต่อมาการถ่ายภาพกลายเป็นสิ่งที่คนทั่วไปสนใจและผู้ที่ทำให้การถ่ายรูปอยู่ในความสนใจของคนทั่วไปมากขึ้นคือ George Eastman เขาได้จัดขายกล้องที่มีฟิล์มม้วนบรรจุอยู่ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งหมายถึงว่าผู้ที่ซื้อกล้องจะซื้อกล้องที่มีฟิล์มใส่ไว้เรียบร้อยแล้ว และเมื่อถ่ายเสร็จก็ส่งไปให้บริษัทของ Eastman จัดการเปลี่ยนฟิล์มใหม่ และล้างอัดขยายภาพจากเนกาทีฟที่ดีให้ด้วย Eastman ตั้งชื่อบริษัทว่า "Kodak" ซึ่งเขาบอกว่าชื่อที่ตั้งนี้ฟังเสียงคล้ายเสียงกดชัดเตอร์ของกล้อง        
             - นอกจากนี้ Eastman ยังมีบทบาทที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ในปี ค.ศ.1895 เขาได้เปลี่ยนฟิล์มจากฟิล์มกระดาษธรรมดามาเป็นฟิล์มโปร่งแสงซึ่งทำด้วยเซลลูลอยด์ทำให้ฟิล์มทนทานขึ้น และผู้ถ่ายก็สามารถใส่ฟิล์มได้เอง การล้างอัดขยายภาพก็กว้างขวางออกไป โดยมีร้านขายยารับทำหน้าที่นี้ด้วย จนกระทั่งการถ่ายภาพได้รับความนิยมแพร่หลายในหมู่ประชาชนคนทั่วไป 

George Eastman ผู้ให้กำเนิดกล้อง Kodak