วันพฤหัสบดีที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560

วิวัฒนาการของการถ่ายภาพ

ก่อนที่จะมีเทคโนโลยีการถ่ายภาพ มนุษย์ได้ใช้วิธีการวาดภาพให้เหมือนจริงเพื่อบันทึกความทรงจำ และใช้ในการสื่อความหมาย ซึ่งการวาดภาพให้เหมือนจริงต้องใช้เวลานานและได้ภาพที่ไม่เหมือนจริงตามธรรมชาติ
     จนในที่สุดในศตวรรษที่ 19 มนุษย์ก็ประสบความสำเร็จ ในการคิดค้นกระบวนการสร้างภาพ จากผลของการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ ที่ได้พัฒนาความรู้จากศาสตร์ 2 ศาสตร์ คือ สาขาฟิสิกส์ ได้แก่ เรื่องของแสงและกล้องถ่ายภาพ และสาขาเคมี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับฟิล์ม สารไวแสง และน้ำยาสร้างภาพ
กำเนิดกล้องถ่ายภาพชนิดแรก

        - แนวคิดในการถ่ายภาพนั้นเริ่มมาเป็นเวลานานแล้ว โดยมาจากสมัยพวกชนเผ่าแร่ร่อนในอียิปต์ ซึ่งท่องเที่ยวกลางเต้นท์อยู่ในทะเลทราย เมื่อถึงเวลาบ่ายแดดร้อนจัดก็หยุดเดินทางเข้าไปพักผ่อนในเต้นท์ซึ่งมืด และได้สังเกต เห็นแสงของดวงอาทิตย์ลอดผ่านรูเต้นท์มากระทบวัตถุแล้วทำให้เกิดเงาเป็นรูปร่างขึ้นที่ผนังอีกด้านหนึ่ง โดยได้เงาหัวกลับ ซึ่งถือได้ว่าเป็นหลักหรือกฎเบื้องต้นของการถ่ายรูป 

       - เมื่อประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตศักราช อริสโตเติล นักปราชญ์และนักวิทยาศาสตร์ชาวกรีกได้บันทึกไว้ว่า หากเราปล่อยให้ผ่านเข้าไปทางช่องเล็กๆ ในห้องมืด แล้วถือกระดาษขาวให้ห่างจากช่องรับแสงประมาณ 15 ซ.ม. จะปรากฏภาพบนกระดาษ ลักษณะเป็น “ภาพจริงหัวกลับ” แต่ไม่ชัดเจนนัก   สิ่งที่เขาค้นพบนั้น ถือว่าเป็นกฎของกล้องออบสคิวร่า (camera obscura เป็นภาษาลาติแปลว่า "ห้องมืด") และคงรักษาไว้หลายร้อยปีต่อมา



กล้อง camera obscura และหลักการใช้

          - ค.ศ. 1490 ลีโอนาโด ดาวินชี นักวิทยาศาสตร์และศิลปินชาวอิตาลี่ได้บันทึกคำอธิบายเกี่ยวกับหลักการทำงานของกล้องออบสคิวร่า ทำให้ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าใจหลักการทำงานของกล้องมากขึ้น โดยเฉพาะพวกจิตรกรสนใจนำกล้องไปช่วยในการวาดภาพลอกแบบ เพื่อให้ได้ภาพในเวลารวดเร็วและมีสัดส่วนเหมือนจริง



วิวัฒนาการของกล้อง obscura
 สารไวแสงกับการคงสภาพของภาพถ่าย
      แม้จะมีการค้นพบหลักการ camara obcura ที่ทำให้ภาพเหมือนจริงมาปรากฏบนฉากได้ตามต้องการมานานกว่า 2 พันปี แต่คนในสมัยโบราณไม่สามารถคงสภาพของภาพนั้นให้คงอยู่ได้อย่างถาวร จนกระทั่ง ใน พ.ศ. 2370 โจเซฟ เนียฟ (Joseph Nicéphore Niépce) ได้ประสบความสำเร็จในการคงสภาพ เขาใช้แผ่นดีบุกผสมตะกั่วฉาบด้วยสารบิทูเมนถ่ายภาพตึกซึ่งอยู่ตรงข้ามกับห้องทำงานในบ้านของเขาที่ด้วยกล้องออบสคูรา โดยใช้เวลานาน 8 ชั่วโมง ภาพที่ได้เป็นโพสิตีฟคือส่วนที่ถูกแสงจะเป็นสีจางลงและแข็งตัว ส่วนที่ไม่ถูกล้างออกจึงเป็นสีดำ ซึ่งเป็นสีของแผ่นดีบุกผสมตะกั่วนั่นเองภาพถ่ายนี้ นับเป็นภาพถ่าย ภาพแรกของโลกที่หลงเหลืออยู่ 






  โจเซฟ เนียฟ และภาพถ่ายภาพแรก 
       - ใน พ.ศ. 2369 ดาแกร์ได้เขียนจดหมายติดต่อกับเนียฟ ถึงเรื่องการค้นคว้าเกี่ยกวับกระบวนการถ่ายภาพของเขา และใน พ.ศ.2370 ขณะที่เนียฟมีโอกาสเดินทางไปกรุงปารีส จึงได้ไปพบดาแกร์และพูดคุยเกี่ยวกับการทดลองค้นคว้า เขาทั้งสองได้ติดต่อกันเรื่อยมา จนกระทั่งใน พ.ศ.2372 เขาจึงได้ทำสัญญาร่างหุ้นกัน เพื่อทำให้กระบวนการเฮลิโอกราฟที่เนียฟคิดค้นสมบูรณ์แบบ โดยมีกำหนด 10 ปี แต่ดำเนินการได้เพียง 4 ปี เนียฟก็ถึงแก่กรรมใน พ.ศ.2376 ดาแกร์จึงได้ดำเนินหุ้นกับลูกชายของเนียฟต่อไป
         - ใน พ.ศ.2378 เขาได้สังเกตเห็นเพลทซึ่งเขาถ่ายไว้หลายวันในตู้ มีภาพปรากฏเขาค้นพบต่อมาว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น เป็นผลมากจากไอปรอทของเทอร์โมมิเตอร์ที่แตกหลอดหนึ่ง แต่ภาพที่ปรากฏนั้น ยังไม่ถาวรเขาจึงได้ทำการค้นคว้าต่อ โดยนำกระบวนการเฮลิโอกราฟของเนียฟไปร่วมกับกระบวนการ ไดโอรามาของเขาต่อมาใน พ.ศ.2380 เขาก็ได้ประสบความสำเร็จ ในการทำภาพให้ติดถาวรได้ด้วยการใช้สารละลายเกลือธรรมดา (Common salt) และเรียกระบวนการนี้ว่า ดาแกร์โรไทฟ์ (Daguerreotype)  

กล้องดาแกร์โรไทฟ์

                  - ในเวลาต่อมา วิลเลียม เฮนรี ฟอกซ์ แทลบอต ( William Henry Fox Talbot ) ชาวอังกฤษ ได้ค้นพบว่า “เงินคลอไรด์”( Silver Chloride ) เป็นสารที่มีความไวต่อแสงสว่าง ซึ่งสามารถฉาบลงบนกระดาษได้ ทำให้ได้กระดาษไวแสงที่จะนำไปอัดภาพ เขาได้ทดลองนำใบไม้ ขนนก มาวางทับกระดาษไวแสง พบว่า ส่วนที่วัตถุทับอยู่จะเป็น สีขาวแต่ส่วนที่ถูกแสงสว่างจะเป็นสีดำ เมื่อนำไปล้างในสารละลายเข้มข้นของโซเดียมคลอไรด์ ได้ภาพที่เรียกว่า “ภาพPhotogenic Drawing” ที่มีลักษณะเป็นสีตรงข้ามกับต้นแบบคือ ขาวเป็นดำ และดำเป็นขาว หรือที่เรียกว่า "ภาพเนกาตีฟ" ในปัจจุบัน ซึ่งแทลบอตใช้เป็นต้นแบบในการอัดภาพ ภาพต่อๆ มาจะเป็นภาพโพสิตีฟ ฉะนั้นวิธีการของแทลบอตจึงดีกว่ากระบวนการของดาร์แกโรไทพ์ ตรงที่สามารถอัดภาพได้หลายภาพตามต้องการ แต่ก็มีข้อด้อยตรงที่เมื่อเก็บไว้นาน ๆ สีของภาพจะซีดจางลง
  

วิลเลียม เฮนรี ฟอกซ์ แทลบอต

            - ระยะต่อมาการถ่ายภาพกลายเป็นสิ่งที่คนทั่วไปสนใจและผู้ที่ทำให้การถ่ายรูปอยู่ในความสนใจของคนทั่วไปมากขึ้นคือ George Eastman เขาได้จัดขายกล้องที่มีฟิล์มม้วนบรรจุอยู่ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งหมายถึงว่าผู้ที่ซื้อกล้องจะซื้อกล้องที่มีฟิล์มใส่ไว้เรียบร้อยแล้ว และเมื่อถ่ายเสร็จก็ส่งไปให้บริษัทของ Eastman จัดการเปลี่ยนฟิล์มใหม่ และล้างอัดขยายภาพจากเนกาทีฟที่ดีให้ด้วย Eastman ตั้งชื่อบริษัทว่า "Kodak" ซึ่งเขาบอกว่าชื่อที่ตั้งนี้ฟังเสียงคล้ายเสียงกดชัดเตอร์ของกล้อง        
             - นอกจากนี้ Eastman ยังมีบทบาทที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ในปี ค.ศ.1895 เขาได้เปลี่ยนฟิล์มจากฟิล์มกระดาษธรรมดามาเป็นฟิล์มโปร่งแสงซึ่งทำด้วยเซลลูลอยด์ทำให้ฟิล์มทนทานขึ้น และผู้ถ่ายก็สามารถใส่ฟิล์มได้เอง การล้างอัดขยายภาพก็กว้างขวางออกไป โดยมีร้านขายยารับทำหน้าที่นี้ด้วย จนกระทั่งการถ่ายภาพได้รับความนิยมแพร่หลายในหมู่ประชาชนคนทั่วไป 

George Eastman ผู้ให้กำเนิดกล้อง Kodak







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น