วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ความเข้มของแสงมีผลกับสี!

                 ในการถ่ายภาพแบบ Dramatic นั้น ถ้าเราจะถ่ายภาพในตรงกับจินตนาการที่เราคิดไว้ เราต้องรู้ว่าความเข้มของแสงแค่ไหนที่ใส่ลงไปกับ Subject แล้วให้ผลเป็นสีอะไร เช่น เวลาถ่ายภาพแนว Life Portrait คนสูงอายุที่มี Texture ของผิวดี มีผิวหนังเหี่ยวย่น สีผิวน้ำตาลแก่ นอกจากเราต้องปรับตั้งค่า White Balance เป็นองศาเคลวินแล้ว แสงก็มีผลต่อการถ่ายภาพด้วย โดยเราจะต้องถ่ายให้อยู่ในโทนที่อันเดอร์เพื่อให้สีไปจับตัวที่ Subject ซึ่งจะส่งผลให้โืรของภาพและสีผิวเข้มขึ้น




สาระการ์ด

การ์ดบันทึกข้อมูล

การ์ดบันทึกข้อมูล ทำหน้าที่ในการบันทึกภาพถ่ายแทนฟิล์ม มีให้เลือกใช้งานหลากหลายชนิด
แต่ละรุ่น แต่ละแบบ จะมีความเร็วในการบันทึกและโอนถ่ายข้อมูลแตกต่างกัน อีกทั้งความจุและราคาก็แตกต่างกันด้วย ซึ่งตัวอย่างการ์ดบันทึกข้อมูลที่นิยมใช้กันในกล้องดิจิตอลปัจจุบัน เช่น


           - Compact Flash (CF) เป็นการ์ดบันทึกข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความแข็งแรงที่สุดเมื่อเทียบกับการ์ดบันทึกข้อมูลชนิดอื่น

            - SD Card มีคุณสมบัติโดดเด่นคือ มีขนาดเล็กและบางจึงเป็นการ์ดที่นิยมนำมาใช้ในกล้องดิจิตอลคอลแพ็คซึ่งมีขนาดเล็กและเพราะการที่มีขนาดเล็กและบางจึงไม่แข็งแรงพอสำหรับการนำไปใช้ในภาคสนาม

            - XD-Picture Card ในอดีตเป็นการ์ดที่มีขนาดเล็กที่สุด นิยมใช้กับกล้องดิจิตอลของ Fuji และ Olympus แต่ในปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมในการใช้งาน
         
             -  Memory Stick เป็นการ์ดที่พัฒนาโดยบริษัท Sony เพื่อรองรับกับการใช้งานกับอุปกรณ์เช่น กล้องถ่ายรูป กล้องวีดีโอ แต่เนื่องจาก Sony เป็นผู้พัฒนาการ์ดชนิดนี้จึงทำให้มีแต่ผลิตภัณฑ์ของ Sony เท่านั้นที่จะเลือกใช้การ์ดชนิดนี้

เรื่องการ์ดๆ

การเลือกใช้การ์ด ควรเลือกใช้การ์ดที่มีความเหมาะสมต่อการใช้งาน ในปัจจุบัน การ์ดความเร็วต่ำมีราคาถูกลงมาก และสำหรับช่างภาพมือใหม่หรือหลายๆคนทำการ์ดหายบ่อย ก็ควรที่จะมีตลับเก็บการ์ดไว้







วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Mood & Tone


Mood = อารมณ์ 
Tone   =  สี

สรุปสั้นๆว่า Mood & Tone ในที่นี้ก็คือ การปรับสีสันของภาพให้สื่อถึงอารมณ์และความรู้สึกของภาพนั้นๆ

-  Mood หรืออารมณ์ของภาพ หรือการรับรู้ต่อภาพ เช่น ตื่นเต้น เร้าใจ สนุก ร่าเริง นิ่ง สงบ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ภาพจะเป็นตัวบอกด้วยตัวของมันเอง เพียงแต่เราช่วยปรับแต่งแสงและสีเสริมเข้าไปเพื่อเพิ่มความรู้สึกให้กับภาพนั้นได้ดียิ่งขึ้น

- Tone หรือสีนั้น สื่อถึงความรู้สึกได้ง่าย เช่น ที่เราเคยได้เรียนกันมาก็คือ สีโทนเย็นและสีโทนร้อน แน่นอนว่าสีโทนเย็นนั้นมักถูกใช้สื่อถึงความนิ่ง สงบ ชณะที่สีโทนร้อนนั้นมักถูกใช้สื่อถึงความเร่าร้อน ความสนุกสนาน ความกระฉับกระเฉง เป็นต้น

ดังนั้น การปรับแต่งภาพแนวนี้จึงจำเป็นที่จะต้องปรับให้แสง สี และอารมณ์ ไปด้วยกันได้

Histogram in LR?

         Histogram คือ กราฟแสดงผลปริมาณแสงที่อยู่ในภาพนั้นๆ โดยกราฟนี้จะแสดงค่าความมืด
 (ดำสุด) - สว่าง(ขาวสุด) ซึ่งการแสดงผลของ Histogram นั้น หากราฟแสดงผลไปทางซ้ายมากๆ นั่นแสดงว่าในภาพมีส่วนมืดมาก หากแสดงผลมาทางขวามากก็หมายความว่าภาพนั้นมีส่วนสว่างมากเช่นกัน

        แล้วมีประโยชน์อย่างไรกับการ Process ประโยชน์อย่างแรกเลยมันจะช่วยเตือนไม่ให้เราปรับแต่งภาพจนเสียรายละเอียดไป และที่สำคัญ หากเราไม่แน่ใจในจอคอมพิวเตอร์ของเราแล้ว Histogram มีประโยชน์มากๆเพราะมีไว้สำหรับดูโทนสี เช็คความมืด สว่างของแสง สี


       นอกจากนี้ เรายังสามารถปรับค่าต่างๆได้จากหน้าต่างนี้อีกด้วย โดยการคลิกลากและเลื่อนไปใปในกราฟ Histogram นี้ ภาพก็จะปรับไปตามค่าความมืด-สว่างให้ได้เลย โดยการนำเมาส์คลิกในหน้าต่าง Histogram ค้างไว้แล้วลากไปทางซ้าย-ขวา โดยการลากไปทางซ้ายจะเป็นการลดค่า และการลากไปทางขวาเป็นการเพิ่มค่า



วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจ

ไฟล์ RAW ทำอะไรได้บ้าง?

- Raw จะทำงานผ่าน Metadata (เมื่อปรับแต่งใดๆกับภาพก็จะมีไฟล์หน้าตาเหมือนไฟล์ Microsoft word แต่มีนามสกุล .xmp แนบอยู่ข้างๆไฟล์ภาพที่ทำงานอยู่)  ซึ่งทำให้ไฟล์ RAW ต้นฉบับยังคงสภาพเดิมแม้เราจะมีการปรับแต่งภาพไปแล้ว ซึ่งหากเราต้องการให้ภาพกลับสู่สภาพเดิมก่อนปรับแต่งก็แค่ลากไฟล์ .xmp ทิ้งไปเท่านั้น ภาพก็จะกลับมาเหมือนเดิม

-Raw สามารถให้เราเปลี่ยนค่าต่างๆในภาพได้เหมือนเราปรับจากตัวกล้องแม้เราจะถ่ายภาพมาแล้วก็ตาม

-Raw สามารถ WB(White Balance) ได้อย่างอิสระดังนั้น ในการถ่ายภาพเราอาจไม่ต้องวุ่นวายหรือกังวลกับการปรับค่า WB มากเกินไป เราอาจใช้ Auto WB ไปก่อน (กล้องรุ่นใหม่ๆฉลาดขึ้นเยอะ!) แล้วมา Fine-tune ในภายหลัง

-ในทางทฤษฎีแล้ว Raw ไฟล์สามารถชดเชยแสงได้ถึง 5 stop เลยทีเดียว!!! แต่จากการใช้จริงๆแล้วมันทำได้ไม่เกิน 2 stop เพราะหากเกินกว่านี้คุณภาพของภาพจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นความคมชัด สีสัน รวมถึง Noise ด้วย

RAW vs JPEG

Raw สำหรับกล้องรุ่นเก่า จะมความละเอียดของสีเท่ากับ 12bit ทำให้ได้โทนสีจำนวน 4096 โทน และกล้องรุ่นใหม่ๆ จะได้ความละเอียดของสีเท่ากับ 14bit ทำให้ได้โทนสีจำนวน 16,384 โทนด้วยกัน ขณะที่ไฟล์แนบแบบ JPEG นั้นให้ความละเอียดสีที่ 8bit ซึ่งให้ค่าสีเพียง 265 โทนสี ดังนั้น การปรับแต่งภาพโดยใช้ RAW ไฟล์ย่อมให้ผลดีกว่า JPEG มาก

url.jpg

"RAW JPEG"

Adobe Photoshop Lightroom ถูกออกแบบมาเพื่อปรับแต่งภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอล โดยเฉพาะไฟล์ประเภท Raw ซึ่งจะดึงความสามารถของ Adobe Photoshop Lightroom ได้ดีที่สุด ดังนั้น เรามาทำความรู้จักกับ RAW ไฟล์กันก่อนดีกว่า


url.jpg

RAW

      Raw คือ ไฟล์ดิบที่ยังไม่มีการปรับแต่งใดๆ แตกต่างจากไฟล์ JPEG ซึ่งจะถูก Software ในกล้องปรับแต่งให้ผ่าน Picture Control Style ของกล้องซึ่งจะให้ผลแตกต่างกันไป เช่น Landscape จะให้ค่าสีที่สดใสกว่าปกติ ให้ค่าเปรียบต่างมากขึ้นเพื่อเพิ่มความคมชัดให้ภาพ เป็นต้น

      Raw ไฟล์นั้นหากเปิดด้วย Software ค่าย เช่น Nikon ก็จะเป็น View Nx หรือ Canon  ก็จะเป็น DPP(Digital Photo Professional)
ค่าต่างๆที่เราปรับแต่งไว้ในกล้องก็จะติดมาด้วยโดยเฉพาะค่า Picture Control, Picture Style แต่หากเราเปิดด้วย Software นอกค่าย ค่าปรับแสงแต่งในกล้องจะไม่ถูกอ่าน ทำให้เราได้ค่า Standard หรือค่าที่ไม่ได้มีการปรับแต่งแสงใดๆเลย